กีฬาบาสเกตบอลส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย

ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบทุกระดับการศึกษา คือ ตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในระดับสูงในวงการกีฬาของไทยและวงการกีฬาของโลก ดังจะเห็นได้จากตัวเลขสถิติที่แสดงให้เห็นว่าในการแข่งขันบาสเกตบอลกีฬาโอลิมปิกนั้น มีผู้เข้าชมบาสเกตบอลมากกว่ากีฬาหลายชนิด และในการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ การคิดค้นกีฬาบาสเกตบอลเพื่อให้สามารถเล่นออกกำลังกายได้ในช่วงหิมะตกโดยเล่นในโรงพลศึกษา เช่นเดียวกับกรณีในประเทศไทยมีฝนตกก็เล่นในโรงพลศึกษาได้ สนามที่ใช้เล่น ก็ไม่ใหญ่โตมากนัก ซึ่งเหมาะกับสภาพปัจจุบันคือที่ดินมีราคาสูงและหาได้ยาก

การส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬาจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะสร้างโอกาสให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนหันมาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และจะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจให้กับทุกคน และยังสร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังแสวงหาเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ทำให้ไม่หลงทางไปทำสิ่งที่ไม่ดีต่อตนเองและต่อผู้อื่นอีกด้วย เพื่อทำการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการเล่นกีฬา จึงควรจัดให้มีการแข่งขันขึ้นเพื่อเป็นเป้าหมายสำหรับการเล่นกีฬาและเพิ่มความมุ่งมั่นให้กับคนที่สนใจและอาจเป็นการเปิดทางไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาวงการกีฬาอย่างต่อเนื่องต่อไป

สมรรถภาพทางกายสำหรับกีฬาบาสเกตบอล

สมรรถภาพทางกาย เป็นลักษณะสภาพของร่างกายที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง อดทนต่อการปฏิบัติงาน มีความคล่องตัว ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคสูง ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีมักจะเป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงแจ่มใสและมีร่างกายสง่าผ่าเผย สามารถปฏิบัติภารกิจการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันนี้การที่จะพัฒนาทักษะทางกีฬาให้แก่นักเรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกใหม่ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างสมรรถภาพทางกายเสียก่อน เพราะการมีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการฝึกและการพัฒนาทักษะต่อไป

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการหดตัวเพื่อทำงานได้อย่างเต็มที่

เช่น ความแข็งแรงในการเตะเท้าได้สูงหรือเตะได้แรงถ้าใช้กับการวิ่ง เช่น ความสามารถ การก้าวเท้าได้ระยะทางยาว ช่วงก้าวเท้าได้ระยะทางยาว ช่วงก้าวแต่ละครั้งซึ่งถือว่าเป็นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในการหดตัวก้าวได้แต่ละครั้ง ดังนั้นความแข็งแรงจะมีอยู่ทุกๆกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและเราสามารถจะวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้โดยใช้เครื่องมือ เช่น วัดแรงบีบเป็นการวัดความแข็งแรงของนิ้วมือ การดึงไดนาโมมิเตอร์เป็นการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เป็นต้น